TH EN

มาดูกัน อายุเท่าไหร่เหมาะกับประกันแบบไหน ?

                            

โพสต์เมื่อ 30 กรกฎาคม 2567 | บทความโดย : TISCO

 
           การวางแผนประกันเป็นการโอนความเสี่ยงไปยังบริษัทที่รับประกัน เป็นหนึ่งในวิธีการจัดการความเสี่ยงที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก ในการช่วยบรรเทาภาระทางการเงินจากผลกระทบที่เกิดขึ้น ใครที่กำลังเริ่มต้นอยากวางแผนซื้อประกันเพื่อเตรียมรับมือกับสิ่งที่ไม่คาดคิดในอนาคต แต่พอลองหาข้อมูลก็จะเห็นว่าประกันนั้นมีหลายแบบจนเลือกไม่ถูก ไม่ว่าจะประกันชีวิต ประกันอุบัติเหตุ ประกันสุขภาพ และอีกมากมาย ถ้าหากไม่รู้จะเลือกซื้อแบบไหนให้ตรงตามความต้องการ ขอแนะนำแนวทางการเลือกซื้อประกันที่เหมาะตามอายุ ซึ่งตอบโจทย์ตามแต่ละช่วงวัย จะได้เป็นตัวช่วยในการตัดสินใจเลือกซื้อประกัน
 
 
            
            ในวัยนี้คงไม่ใช่การนำประกันชีวิตมาลดหย่อนภาษี หรือเพื่อคนข้างหลังแน่ๆ แต่วัยเด็กแบบนี้เหมาะกับการทำประกันสุขภาพและประกันอุบัติเหตุมากกว่าประกันชีวิต เพราะเป็นวัยที่มีความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยและการเกิดอุบัติเหตุมากกว่าวัยอื่นๆ ถ้าเป็นเด็กวัย 0-5 ปีที่ร่างกายยังไม่มีภูมิคุ้มกันที่แข็งแรงพอ ก็มักจะเจ็บป่วยง่ายกว่าเด็กวัยอื่น ซึ่งเบี้ยประกันสุขภาพของเด็กวัย 0-5 ปีก็จะสูงตามสถิติการเจ็บป่วยของเด็กวัยนี้ แต่หลังจากนั้น เบี้ยประกันก็จะถูกลง และในวัยที่เริ่มวิ่งซนจนถึงช่วงวัยรุ่นที่เล่นกีฬาผาดโผน ก็มักจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุอยู่บ่อยๆ ดังนั้นการทำประกันสุขภาพหรือประกันอุบัติเหตุจึงเป็นการแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายหากเกิดเหตุที่ต้องใช้ค่ารักษาพยาบาลจำนวนมาก
 
 
 
          ในช่วงนี้เป็นวัยเริ่มทำงาน และยังไม่มีใครที่มาพึ่งพิงรายได้ของเรา จึงเป็นวัยที่เหมาะกับการวางแผนการเงินเพื่อสร้างฐานะในอนาคต และเมื่อทำงานบริษัท เราก็จะได้สวัสดิการประกันสุขภาพไปในตัว ในระยะนี้เป็นช่วงที่ต้องเริ่มจ่ายภาษี เพราะฉะนั้นประกันชีวิตที่หนุ่มสาววัยนี้เริ่มมองก็ควรเป็นแบบประกันที่สามารถช่วยประหยัดภาษีได้ แต่ยังไม่ต้องมีความคุ้มครองสูงมากนัก เช่น ประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ที่มีระยะเวลาคุ้มครองยาวกว่า 10 ปี

 

 
 
 
          เป็นช่วงที่มีหน้าที่การงานค่อนข้างมั่นคงพร้อมกับภาระหน้าที่ความรับผิดชอบที่เพิ่มมากขึ้น มีบุคคลที่อยู่ในความอุปการะซึ่งอาจรวมทั้งบุพการีและบุตรมักจะอยู่ระหว่างการผ่อนสินทรัพย์มูลค่าสูง เช่น บ้าน รถ ส่งผลต่อความต้องการความคุ้มครองที่ค่อนข้างสูง แบบประกันที่เหมาะสมจึงเป็น “ประกันชีวิตแบบตลอดชีพ” และ “ประกันชีวิตแบบชั่วระยะเวลา” เพื่อสร้างความคุ้มครองให้เพียงพอ และควรเริ่มเตรียมความพร้อมเรื่องแหล่งรายได้ในวัยเกษียณในเวลาเดียวกัน โดยทำ “ประกันแบบบำนาญ” 
“สำหรับประกัน ‘แบบตลอดชีพ’ และ ‘บำนาญ’ สามารถใช้เป็นแบบประกันสัญญาหลักที่สามารถแนบสัญญาความคุ้มครองเพิ่มเติมกลุ่มค่ารักษาพยาบาล ความคุ้มครองโรคร้ายแรงให้ได้ช่วงระยะเวลาที่ยาวนานเพื่อให้ครอบคลุม และคุ้มครองไปจนถึงช่วงที่อายุมากขึ้น ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่มีโอกาสต้องใช้ความคุ้มครองส่วนนี้มากขึ้นไปด้วย” 
อาจพิจารณาทำ “ประกันสุขภาพ” และ “ประกันอุบัติเหตุ” ให้กับบุตร เพื่อใช้เป็นค่ารักษาพยาบาล ทั้งในกรณีเจ็บป่วยหรือเกิดอุบัติเหตุ เนื่องจากเป็นวัยที่มีโอกาสเจ็บป่วยและเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย เพื่อช่วยปกป้องความมั่งคั่งของครอบครัว 
 
 
สำหรับการดูแลบุพการี การทำประกันสุขภาพให้ท่านเหล่านั้นเพื่อช่วยแบ่งเบาภาระค่ารักษาพยาบาลก็เป็นสิ่งที่น่าสนใจ และยังสามารถใช้ค่าเบี้ยประกันสุขภาพที่จ่ายให้บุพการีมาลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริงและรวมสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาทต่อปี
 
 

 

 
            เป็นช่วงวัยที่ภาระต่างๆ เริ่มลดลง เพราะลูกๆ ก็เติบโตและเริ่มเข้าสู่วัยทำงานกันบ้างแล้ว ประกันชีวิตที่ให้ความคุ้มครองสูงอาจไม่ใช่สิ่งจำเป็นที่สุด ในระยะนี้หากเราไม่เคยมีประกันสุขภาพมาก่อน อาจจะเป็นเวลาที่เราเริ่มมองหาประกันสุขภาพทั้งค่ารักษาพยาบาล หรือคุ้มครองโรคร้ายแรงอย่างจริงจัง เพราะเมื่ออายุมากขึ้น ความเสี่ยงต่อโรคภัยไข้เจ็บก็มากขึ้นตามไปด้วย ถ้าไม่มีประกันสุขภาพ เราอาจต้องเจอกับค่ารักษาพยาบาลมหาศาลก็ได้นะ! และเราคงไม่อยากหมดเงินเก็บที่มีมาทั้งชีวิตกับการรักษาตัวหรอกใช่มั้ยล่ะ การทำประกันชีวิตที่ความคุ้มครองไม่สูงมากนักพ่วงประกันสุขภาพ จึงเป็นทางเลือกหนึ่งในการป้องกันความเสี่ยงนั้น 
 
 

 

ติดตามข้อมูลข่าวสาร TISCO ช่องทางอื่น ๆ ได้แล้ววันนี้!
⭐ Facebook > https://www.facebook.com/TISCOFinancialGroup
⭐ LINE > https://lin.ee/1NQ6yvI
⭐ Twitter > https://twitter.com/TISCOAdvisory
⭐ Instagram > https://instagram.com/tisco_official
⭐ Youtube > https://www.youtube.com/@TISCOGroup
⭐ Website > www.tisco.co.th

© สงวนลิขสิทธิ์ 2561 ธนาคารทิสโก้ จำกัด มหาชน