ลูกค้าบุคคล
ลูกค้า SME
ลูกค้าธุรกิจ
ลูกค้า Wealth
นักลงทุนสัมพันธ์
ทิสโก้ ไฟแนนเชียลกรุ๊ป
ค้นหาสาขา
TH
EN
เงินฝาก
เงินฝาก
ออมทรัพย์
บัญชีเงินฝากพื้นฐาน
ออมทรัพย์พิเศษ
ซุปเปอร์ออมทรัพย์
ออมทรัพย์ไดมอนด์
ออมทรัพย์บลูไดมอนด์
ออมทรัพย์ TISCO My Savings
ออมทรัพย์ TISCO e-Savings
กระแสรายวัน
กระแสรายวันพิเศษ
ฝากประจำ
ปลอดภาษี
ลงทุน
ลงทุน
ซื้อขายหลักทรัพย์
ซื้อขายอนุพันธ์
ซื้อขายหลักทรัพย์ต่างประเทศ
กองทุนรวมธนาคารทิสโก้
กองทุนรวม บลจ.ทิสโก้
ลงทุน SSF / RMF บลจ.ทิสโก้
สินเชื่อ
สินเชื่อ
สินเชื่อบ้าน
สินเชื่อบ้านแลกเงิน
สินเชื่อรีไฟแนนซ์บ้าน
สินเชื่อรีไฟแนนซ์บ้านแลกเงิน
สมหวัง โฉนดแลกเงิน
สินเชื่อรถใหม่
สินเชื่อรถมือสอง
สินเชื่อทะเบียนรถ
สินเชื่อเพื่อข้าราชการบำนาญ
ประกัน
ประกัน
ประกันชีวิต
ประกันสุขภาพและโรคร้ายแรง
ประกันรถยนต์
ประกันอุบัติเหตุ
ประกันภัยเพื่อที่อยู่อาศัย
ประกันตามไลฟ์สไตล์
ชำระเบี้ยประกันภัย
บริการ
บริการธนาคาร
บริการทิสโก้พร้อมเพย์
บัตร ATM TISCO
บริการ TISCO LINE Alert
บริการ TISCO Alert
TISCO My Wealth
บริการ LINE Official
TISCO My Car
บริการรับชำระเงิน
บริการชำระบิลข้ามธนาคาร
ประกาศขายทรัพย์สิน
ประมูลรถยนต์
e-Service
e-Service
e-Statement
e-Cash Management
e-Invest
e-Trade
e-Provident Fund
Corporate File Transfer
หน้าแรก
เงินฝาก
เงินฝากออมทรัพย์
ออมทรัพย์
ออมทรัพย์บัญชีเงินฝากพื้นฐาน
ออมทรัพย์พิเศษ
ซุปเปอร์ออมทรัพย์
ออมทรัพย์ TISCO My Savings
ออมทรัพย์ TISCO e-Savings
ออมทรัพย์ไดมอนด์
ออมทรัพย์บลูไดมอนด์
เงินฝากกระแสรายวัน
กระแสรายวัน
กระแสรายวันพิเศษ
เงินฝากประจำ
ฝากประจำ
ปลอดภาษี
ลงทุน
หลักทรัพย์
ซื้อขายหลักทรัพย์
ซื้อขายอนุพันธ์
ซื้อขายหลักทรัพย์ต่างประเทศ
กองทุน
กองทุนรวมธนาคารทิสโก้
กองทุนรวม บลจ.ทิสโก้
SSF / RMF บลจ.ทิสโก้
สินเชื่อ
สินเชื่อบ้าน
สินเชื่อบ้าน
สินเชื่อบ้านแลกเงิน
สินเชื่อรีไฟแนนซ์บ้าน
สินเชื่อรีไฟแนนซ์บ้านแลกเงิน
สมหวัง โฉนดแลกเงิน
สินเชื่อรถ
สินเชื่อรถใหม่
สินเชื่อรถมือสอง
สินเชื่อทะเบียนรถ
สินเชื่ออื่นๆ
สินเชื่อเพื่อข้าราชการบำนาญ
ชำระค่างวด หรือ ธุรกรรมอื่นๆ
ประกัน
ประกันชีวิตสะสมทรัพย์ (ลดหย่อนภาษี)
ประกันชีวิตแบบตลอดชีพ
ประกันสุขภาพและโรคร้ายแรง
ประกันรถยนต์
ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล
ประกันภัยเพื่อที่อยู่อาศัย
ประกันตามไลฟ์สไตล์
ชำระเบี้ยประกันภัย
บริการธนาคาร
บริการทิสโก้พร้อมเพย์
บัตร ATM TISCO
บริการ TISCO LINE Alert
บริการ TISCO Alert
TISCO My Wealth
บริการ LINE Official
TISCO My Car
บริการรับชำระเงิน
บริการชำระบิลข้ามธนาคาร
ประกาศขายทรัพย์สิน
ประมูลรถยนต์
e-Service
e-Statement
e-Cash Management
Corporate File Transfer
ลูกค้า SME
ลูกค้าธุรกิจ
นักลงทุนสัมพันธ์
ทิสโก้ ไฟแนนเชียลกรุ๊ป
ค้นหาสาขา
TH
EN
TISCO Advisory
สาเหตุการลดดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ และผลกระทบต่อประเทศไทย
โพสต์เมื่อ 10 ตุลาคม 2567 | บทความโดย : TISCO Fund Manager
ธนาคารกลางสหรัฐฯ ประกาศปรับลดดอกเบี้ยนโยบายเมื่อเดือน ก.ย.ที่ผ่านมา ซึ่งถือเป็นการลดดอกเบี้ยครั้งแรกนับตั้งแต่เกิดเหตุการณ์แพร่ระบาดของ COVID-19 และเป็นครั้งแรกหลังจากที่เริ่มขึ้นดอกเบี้ยตั้งแต่ปี 2022 จากระดับ 0% ถึง 5% และใช้ดอกเบี้ยในระดับสูงมากกว่า 5% ดังกล่าวมานานกว่าหนึ่งปีครี่งในช่วงที่ผ่านมา พร้อมกันนี้ล่าสุดยังส่งสัญญาณชัดเจนถึงการกลับทิศเป็นขาลงของดอกเบี้ยหลังจากนี้ อย่างไรก็ตาม อัตราการปรับลดดอกเบี้ยว่าจะมากน้อยแค่ไหนนั้นจะขึ้นอยู่กับข้อมูลเศรษฐกิจที่จะรายงานออกมาในระยะข้างหน้า (Data Dependent)
ดังนั้น ในบทความนี้จะพูดถึงข้อมูลสำคัญที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ รวมถึงธนาคารกลางอื่นๆ ใช้ในการตัดสินใจปรับขึ้นลงของระดับดอกเบี้ยนโยบาย ซึ่งรวมถึงการตัดสินใจลดดอกเบี้ยล่าสุดด้วยเช่นกัน โดยดูได้จากบทบาทของธนาคารกลาง ซึ่งมีหน้าที่หลักในการบริหารจัดการให้ระบบเศรษฐกิจและการเงินของประเทศดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย โดยมีมิติตัวชี้วัดการดูแลทางเศรษฐกิจที่สำคัญอยู่ 3 ด้าน ได้แก่ 1) ระดับราคาสินค้าและบริการในประเทศ หรืออัตราเงินเฟ้อ 2) อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจ และ 3) เสถียรภาพการเงินของประเทศ
ในช่วงหลังจากการแพร่ระบาด COVID-19 เกิดปัญหาเงินเฟ้อเร่งตัวสูงขึ้นในหลายประเทศ ทำระดับสูงสุดในรอบหลายสิบปี ซึ่งรวมทั้งสหรัฐฯ และไทยเองก็เช่นกัน ส่งผลให้ธนาคารกลางสหรัฐฯ หยิบยกความสำคัญในข้อ 1) ข้างต้นขึ้นมา เพื่อไม่ให้ราคาสินค้าและบริการในระบบเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นมากจนเกินไป จนส่งผลต่อปัจจัยข้อ 2) และ 3) หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ เงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วอาจทำให้เศรษฐกิจเร่งขยายตัวเกินค่าเฉลี่ยความสามารถในการเติบโตระยะยาว จนนำไปสู่การปรับฐานของเศรษฐกิจลงมารุนแรงในระยะถัดไป ดังนั้น จึงจำเป็นในการปรับขึ้นดอกเบี้ยจาก 0% เป็น 5% ในช่วงที่ผ่านมา เพื่อต่อสู้กับเงินเฟ้อและชะลอความร้อนแรงของกิจกรรมเศรษฐกิจ
ตัดภาพกลับมาที่ปัจจุบัน เงินเฟ้อสหรัฐฯ ได้ปรับลดลงจากระดับสูงสุดที่ 7% ล่าสุดลงมาอยู่ที่ระดับ 3% เข้าใกล้กรอบเป้าหมายระยะยาวของธนาคารกลางสหรัฐฯ ที่ราว 2% อย่างเป็นลำดับ ส่งผลให้เป้าหมายการรักษาเสถียรภาพระดับราคาสินค้าและบริการในข้อ 1) มีแนวโน้มที่จะบรรลุผลได้เมื่อมองไปข้างหน้า และทำให้ความจำเป็นในการใช้ดอกเบี้ยในระดับสูงนั้นหมดลงไป ส่งผลให้การลดดอกเบี้ยเริ่มเกิดขึ้นนั่นเอง
อีกหนึ่งเหตุผลสำคัญในการประกาศลดอัตราดอกเบี้ยในรอบนี้ คือ ปัจจัยเรื่องของเศรษฐกิจในข้อ 2) และ 3) โดยตัวเลขเศรษฐกิจที่ให้ความสำคัญ นั่นคือ ตัวเลขการจ้างงาน อาทิ อัตราการว่างงาน การเปิดรับตำแหน่งงานใหม่ การจ้างงานนอกภาคการเกษตร เป็นต้น โดยเงินเฟ้อนั้นมีความเกี่ยวเนื่องกับการจ้างงานผ่านค่าจ้างแรงงานที่ลูกจ้างได้รับ และสะท้อนไปถึงการเติบโตของเศรษฐกิจได้ โดยในช่วงที่เงินเฟ้ออยู่ในระดับสูงที่ผ่านมานั้น เกิดจากการขาดแคลนแรงงานในสหรัฐฯ หลังจากที่เปิดเมืองจาก COVID-19 ซึ่งมีไม่เพียงพอกับความต้องการจ้างงานของนายจ้าง ทำให้ค่าจ้างแรงงานพุ่งสูงขึ้น และนำไปสู่การเกิดเงินเฟ้อในลำดับถัดมา ซึ่งเป็นอีกผลหนึ่งที่ทำให้มีการขึ้นดอกเบี้ยเพื่อชะลอการจ้างงานในระบบ อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันดอกเบี้ยในระดับสูงและค้างนานก่อนหน้านี้ ส่งผลให้การจ้างงานมีทิศทางผ่อนคลายขึ้น โดยอัตราการว่างงานในสหรัฐเพิ่มสูงขึ้นเกินระดับ 4% ต่อเนื่องหลายเดือนที่ผ่านมา ประกอบกับการจ้างงานรายเดือนเริ่มกลับเข้าสู่ค่าเฉลี่ยในอดีตอย่างเป็นลำดับ จึงเป็นอีกเหตุผลหนึ่งในการลดดอกเบี้ยล่าสุด ในส่วนของประเด็นด้านเสถียรภาพการเงินของประเทศในข้อ 3) ปัจจัยสำคัญอันหนึ่งที่สามารถใช้ประเมินได้คือ ค่าเงินดอลลาร์ฯ และอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งการใช้ดอกเบี้ยในระดับสูงเกินกว่า 5% ที่ผ่านมาได้ส่งผลให้ค่าเงินดอลลาร์ฯ แข็งค่ารวดเร็วและสูงสุดในรอบ 20 ปีเมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินอื่นๆ ซึ่งส่งผลกระทบเชิงลบต่อผู้ประกอบการในสหรัฐฯ ที่ทำธุรกิจข้ามประเทศหรือมีรายได้นอกประเทศ ดังนั้น การรักษาสมดุลของอัตราแลกเปลี่ยนก็เป็นอีกหน้าที่ความสำคัญหนึ่งไม่แพ้กันของธนาคารกลาง และเป็นเหตุผลส่วนหนึ่งที่ทำให้การลดดอกเบี้ยเกิดขึ้น
สำหรับผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยจากการเริ่มลดดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ นั้น คาดว่าน่าจะช่วยให้ทิศทางของดอกเบี้ยไทยเริ่มเป็นขาลงได้มากขึ้น หลังจากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ใช้ดอกเบี้ยนโยบายในระดับสูงและค้างนานเช่นเดียวกับในสหรัฐฯ มาก่อนหน้านี้ ซึ่งจะช่วยลดภาระดอกเบี้ยจ่ายในระบบเศรษฐกิจได้มากจากการเผชิญปัญหาหนี้ครัวเรือนไทยในขณะนี้ นอกจากนี้ ยังเพื่อเป็นการรักษาระดับอัตราแลกเปลี่ยนของเงินบาทให้มีความสมดุลในเวลาเดียวกัน และยังช่วยลดภาระในการแทรกแทรงค่าเงินของธปท. ในแง่ของกระแสเงินการลงทุนคาดว่าจะช่วยให้มีเม็ดเงินไหลออกจากสหรัฐฯ เข้ามาหาการลงุทนในประเทศอื่นมากขึ้นซึ่งรวมถึงไทยด้วยเช่นกัน
© สงวนลิขสิทธิ์ 2561 ธนาคารทิสโก้ จำกัด มหาชน
ประกาศความเป็นส่วนตัว
|
คำสงวนสิทธิ์
|
แผนผังเว็บไซต์