TH EN

เจาะอาชญากรรมในโลก Metaverse เมื่อธุรกิจตกเป็นเป้าหมายต้องลุกขึ้นสู้

โพสต์เมื่อ 29 ธันวาคม 2564 | บทความโดย : บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ทิสโก้

ขณะที่เราต่างกำลังตื่นเต้นกับ Metaverse ที่จะทำให้โลกอนาคตล้ำสมัยเหนือจินตนาการ แต่ในมุมมืดอีกด้านหนึ่งของโลก ก็มีกลุ่มอาชญากรไซเบอร์กำลังเคลื่อนไหวอย่างคึกคัก เพื่อเดินหน้าเจาะระบบของทุกธุรกิจ ไม่เว้นแม้แต่องค์กรรัฐเพื่อหาประโยชน์ทางข้อมูลที่มีมูลค่ามหาศาล … เราจะพาคุณไปพบกับการลุกขึ้นต่อสู้ในสงครามไซเบอร์ของธุรกิจใหญ่ทั่วโลกเพื่อรับมือกับโลกยุคดิจิทัล

        ในช่วง 20 ปีทีผ่านมา1 (ค.ศ.2000-2020) มีข้อมูลว่า ทั่วโลกเกิดการโจมตีทางไซเบอร์ที่มีความรุนแรงกว่า 400 ครั้ง หรือ 20 ครั้งต่อปี ซึ่งประเทศที่เป็นเป้าหมายของการโจมตีสูงสุด มักจะเป็นประเทศที่มีความก้าวหน้าของเทคโนโลยีเป็นอันดับต้นๆของโลก

        โดย ประเทศที่มีจำนวนการเกิดอาชญากรรมไซเบอร์สูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ อันดับหนึ่ง สหรัฐอเมริกา ถูกโจมตีจำนวน 156 ครั้ง อันดับสอง อังกฤษ จำนวน 47 ครั้งและอันดับสาม อินเดียจำนวน 23 ครั้ง

        แต่ความน่าตกใจที่มากกว่าไปกว่านั้นก็คือ จากการเปิดเผยข้อมูลของ Canalys2 ได้ระบุว่าอาชญากรรมไซเบอร์ทั่วโลก มีแนวโน้มเร่งตัวขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่เกิดการแพร่ระบาดของ COVID-19 ซึ่งบริษัทต่างๆมีการใช้เทคโนโลยีมากขึ้น เพื่อให้พนักงานสามารถทำงานได้จากที่บ้าน (Work From Home) …

        ข้อมูลสำคัญขององค์กร ถูกโอนถ่ายกันไปมาได้ง่ายขึ้น เพื่อให้พนักงานได้ทำงานที่บ้านอย่างสะดวกรวดเร็วขึ้นโดยไม่ต้องเข้าออฟฟิศ และข้อมูลหลายอย่างนั้น ก็มีมูลค่าล่อตาล่อใจให้อาชญากรอย่างยิ่ง

เรื่องจริงของธุรกิจใหญ่ - องค์กรรัฐฯ ที่ถูกโจมตี

        ในช่วงปี 2020 จำนวนการเกิดอาชญากรรมทางไซเบอร์ ได้ทะยานตัวขึ้นอย่างมาก และกระจายตัวไปในหลายธุรกิจ อย่างไรก็ตามหากเจาะลึกลงไป จะพบได้ว่าอาชญากรเหล่านี้  ได้พุ่งเป้าโจมตีอย่างชัดเจน โดยข้อมูลจาก Canalys Special Report3 เปิดเผยว่า 3 อันดับแรก ที่มีถูกโจมตีมากที่สุดได้แก่

1. Healthcare

2. Technology - Data analytics

3. องค์กรรัฐ

 

        โดยการโจมตีที่ว่านี้ มีหลากหลายรูปแบบ ทั้งการจารกรรมข้อมูลสำคัญ เพื่อนำไปหาผลประโยชน์ในด้านต่างๆ เช่น การนำข้อมูลบัตรประชาชน เลขที่บัตรเครดิต และรหัสต่างๆ ไปใช้ หรือแม้กระทั่งเป็นการหาผลประโยชน์ทางการเมือง ที่เคยเป็นข่าวใหญ่ซึ่งเกิดขึ้นระหว่างสหรัฐอเมริกาและรัสเซีย4 ก่อนหน้านี้

        นอกจากนี้ ยังมีการโจมตีทางไซเบอร์ซึ่งเป็นข่าวดังในปี 2017 โดยเป็นเหตุการณ์อาชญากรรม ที่เกิดจาก Ransomware (โปรแกรมเรียกค่าไถ่) ที่มีชื่อว่า มัลแวร์ WannaCry มีจุดประสงค์หลักคือ เข้ารหัสลับข้อมูลในคอมพิวเตอร์เพื่อเรียกค่าไถ่ ถ้าไม่จ่ายเงินตามที่เรียกจะไม่สามารถเปิดไฟล์ได้5

        ความเสียหายที่เกิดขึ้นจึงส่งผลให้ธุรกิจ และองค์กรรัฐทั่วโลก ไม่สามารถยอมให้เกิดการจารกรรม หรือ สร้างความเสียหายได้อีกต่อไป

Metaverse ผลักดันบริษัททุ่มงบป้องกันโจมตีทางไซเบอร์

        จากปัญหาการโจมตีทางไซเบอร์ที่เกิดขึ้นต่อเนื่อง บริษัททั่วโลก ได้เตรียมพร้อมที่จะป้องกันภัยคุกคามนี้อย่างเต็มที่ โดยเฉพาะการเกิดขึ้นของMetaverse ที่ทั่วโลก หันมาใช้ข้อมูลเพื่อทำงาน สังสรรค์ ทำกิจกรรมต่างๆ ในโลกออนไลน์มากขึ้น

        Cybersecurityventures6 คาดการณ์ว่า ในปี2021-2025 ค่าใช้จ่ายด้านการป้องกันการโจมตีทางไซเบอร์ (Cybersecurity) ทั่วโลก จะมีมูลค่ารวมกว่า 1.75 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือเพิ่มขึ้น15% ต่อปี

        ด้วยความต้องการขององค์กร และหน่วยงานต่างๆทั่วโลกที่ทุ่มงบประมาณเข้าไปอย่างต่อเนื่องนี้เอง จึงส่งผลให้มูลค่าด้านการตลาดของธุรกิจ Cybersecurity มีแนวโน้มที่จะเติบโตเฉลี่ย 14% ต่อปี7

TCYBER : กองทุนธุรกิจCybersecurity ป้องกันการโจมตีในโลกไซเบอร์

        เพื่อเพิ่มโอกาสให้ลูกค้ารับผลตอบแทนที่ดีสอดคล้องกับกับเมกะเทรนด์ของโลก บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.)ทิสโก้จึงเปิดเสนอขาย กองทุนเปิด ทิสโก้ Cyber Security (TCYBER) ความเสี่ยงระดับ 7 (เสี่ยงสูง) เน้นลงทุนในหุ้นของบริษัทที่ดำเนินธุรกิจเกี่ยวข้องกับความปลอดภัยทางไซเบอร์ ที่มีการพัฒนาและจัดการด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์และได้รับประโยชน์จากการพัฒนาและการใช้เทคโนโลยีด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ทั่วโลก ผ่านหน่วยลงทุนของกองทุนรวมตราสารทุนต่างประเทศ และ/หรือกองทุนรวมอีทีเอฟตราสารทุนต่างประเทศอย่างน้อย 2 กองทุน ซึ่งเบื้องต้นกองทุนได้ลงทุนในกองทุนรวมต่างประเทศ 2 กองทุน ได้แก่ กองทุน Global X Cybersecurity ETF และ กองทุน Allianz Global Investors Fund - Allianz Cyber Security

        กองทุนเปิด TCYBER ลงทุนขั้นต่ำ 1,000 บาท เปิดเสนอขายครั้งแรก (IPO) วันที่ 4 – 12 มกราคม 2565 ผ่านธนาคารทิสโก้ จำกัด(มหาชน), บล. ทิสโก้ จำกัด, บลจ.ทิสโก้ จำกัด และช่องทางออนไลน์ eInvest, Application TISCO My Funds เท่านั้น ทั้งนี้ กองทุนนี้ลงทุนกระจุกตัวในหมวดอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศจึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก

        พิเศษสำหรับลูกค้าที่มียอดเงินลงทุนสะสมในกองทุน TCYBER ตั้งแต่วันที่ 4 - 12 มกราคม 2565 ตั้งแต่ 20 - 29.99 ล้านบาท รับทองคำหนัก 2 สลึง และยอดเงินลงทุนสะสมตั้งแต่ 30 ล้านบาทขึ้นไป รับทองคำหนัก 1 บาท (1 สิทธิ์ ต่อ 1 ท่าน)

        ต่อที่สอง สำหรับลูกค้าบุคคลธรรมดาที่ลงทุนกองทุน TCYBER ผ่านช่องทาง eInvest และ TISCO My Funds ตั้งแต่วันที่ 4 - 12 มกราคม 2565 ทุกๆ ยอดเงินลงทุนสะสม 50,000 บาท รับหน่วยลงทุนกองทุนเปิด ทิสโก้ พันธบัตรระยะสั้น (TISCOSTF) มูลค่า 100 บาท สูงสุด 1,000 บาท

        ทั้งนี้ กองทุนเปิด TCYBER อาจมีความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนจากการลงทุนในต่างประเทศ จึงมีนโยบายป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุนรวม ผู้สนใจลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า ศึกษาข้อมูลสำคัญของกองทุนรวม โดยเฉพาะนโยบายการลงทุน เงื่อนไขผลตอบแทน ความเสี่ยง และผลการดำเนินงานของกองทุนที่ได้เปิดเผยไว้ที่ www.tiscoasset.com และสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่ บลจ. ทิสโก้ หรือ ธนาคารทิสโก้ทุกสาขา หรือ TISCO Contact Center โทร. 0 2633 6000 กด 4, 0 2080 6000 กด 4 และ www.tiscoasset.com หรือ แอปพลิเคชัน TISCO My Funds

ที่มา

1. Investing in Core Cybersecurity Technology www.visualcapitalist.com/investing-in-core-cybersecurity-technology/

2. 2020 was record Breaking for record compromises (https://www.techrepublic.com/article/2020-sees-huge-increase-in-records-exposed-in-data-breaches/)

3. Now and next for the cybersecurity industry (Canalys Special Report)

4.Obama Strikes Back at Russia for Election Hacking (The New york times : https://www.nytimes.com/2016/12/29/us/politics/russia-election-hacking-sanctions.html)

5. ย้อนรอยเหตุ ‘Ransomware’ สะเทือนโลก และวิธีรับมือ ‘ไวรัสเรียกค่าไถ่’ (กรุงเทพธุรกิจ : https://www.bangkokbiznews.com/tech/897133X )

6. Global Cybersecurity Spending (https://cybersecurityventures.com/cybersecurity-spending-2021-2025/)

7. Total Addressable Market (Gartner: Forecast: Enterprise Infrastructure Software, Worldwide, 2018-2024, 4Q20 Update; 451 Group Custom Cloud Security Forecasts and PANW internal estimates(Prisma Cloud marketbook), Gartner: Enterprise Network Equipment by Segment, Gartner:Forecast Analysis: Enterprise Networking Connectivity Growth Trends, Worldwide)

© สงวนลิขสิทธิ์ 2561 ธนาคารทิสโก้ จำกัด มหาชน