สาเหตุการลดดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ และผลกระทบต่อประเทศไทย

1728545971069

โพสต์เมื่อ 10 ตุลาคม 2567 | บทความโดย : TISCO Fund Manager

           ธนาคารกลางสหรัฐฯ ประกาศปรับลดดอกเบี้ยนโยบายเมื่อเดือน ก.ย.ที่ผ่านมา ซึ่งถือเป็นการลดดอกเบี้ยครั้งแรกนับตั้งแต่เกิดเหตุการณ์แพร่ระบาดของ COVID-19 และเป็นครั้งแรกหลังจากที่เริ่มขึ้นดอกเบี้ยตั้งแต่ปี 2022 จากระดับ 0% ถึง 5% และใช้ดอกเบี้ยในระดับสูงมากกว่า 5% ดังกล่าวมานานกว่าหนึ่งปีครี่งในช่วงที่ผ่านมา พร้อมกันนี้ล่าสุดยังส่งสัญญาณชัดเจนถึงการกลับทิศเป็นขาลงของดอกเบี้ยหลังจากนี้ อย่างไรก็ตาม อัตราการปรับลดดอกเบี้ยว่าจะมากน้อยแค่ไหนนั้นจะขึ้นอยู่กับข้อมูลเศรษฐกิจที่จะรายงานออกมาในระยะข้างหน้า (Data Dependent)

            ดังนั้น ในบทความนี้จะพูดถึงข้อมูลสำคัญที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ รวมถึงธนาคารกลางอื่นๆ ใช้ในการตัดสินใจปรับขึ้นลงของระดับดอกเบี้ยนโยบาย ซึ่งรวมถึงการตัดสินใจลดดอกเบี้ยล่าสุดด้วยเช่นกัน โดยดูได้จากบทบาทของธนาคารกลาง ซึ่งมีหน้าที่หลักในการบริหารจัดการให้ระบบเศรษฐกิจและการเงินของประเทศดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย โดยมีมิติตัวชี้วัดการดูแลทางเศรษฐกิจที่สำคัญอยู่ 3 ด้าน ได้แก่ 1) ระดับราคาสินค้าและบริการในประเทศ หรืออัตราเงินเฟ้อ 2) อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจ และ 3) เสถียรภาพการเงินของประเทศ

            ในช่วงหลังจากการแพร่ระบาด COVID-19 เกิดปัญหาเงินเฟ้อเร่งตัวสูงขึ้นในหลายประเทศ ทำระดับสูงสุดในรอบหลายสิบปี ซึ่งรวมทั้งสหรัฐฯ และไทยเองก็เช่นกัน ส่งผลให้ธนาคารกลางสหรัฐฯ หยิบยกความสำคัญในข้อ 1) ข้างต้นขึ้นมา เพื่อไม่ให้ราคาสินค้าและบริการในระบบเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นมากจนเกินไป จนส่งผลต่อปัจจัยข้อ 2) และ 3) หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ เงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วอาจทำให้เศรษฐกิจเร่งขยายตัวเกินค่าเฉลี่ยความสามารถในการเติบโตระยะยาว จนนำไปสู่การปรับฐานของเศรษฐกิจลงมารุนแรงในระยะถัดไป ดังนั้น จึงจำเป็นในการปรับขึ้นดอกเบี้ยจาก 0% เป็น 5% ในช่วงที่ผ่านมา เพื่อต่อสู้กับเงินเฟ้อและชะลอความร้อนแรงของกิจกรรมเศรษฐกิจ

            ตัดภาพกลับมาที่ปัจจุบัน เงินเฟ้อสหรัฐฯ ได้ปรับลดลงจากระดับสูงสุดที่ 7% ล่าสุดลงมาอยู่ที่ระดับ 3% เข้าใกล้กรอบเป้าหมายระยะยาวของธนาคารกลางสหรัฐฯ ที่ราว 2% อย่างเป็นลำดับ ส่งผลให้เป้าหมายการรักษาเสถียรภาพระดับราคาสินค้าและบริการในข้อ 1) มีแนวโน้มที่จะบรรลุผลได้เมื่อมองไปข้างหน้า และทำให้ความจำเป็นในการใช้ดอกเบี้ยในระดับสูงนั้นหมดลงไป ส่งผลให้การลดดอกเบี้ยเริ่มเกิดขึ้นนั่นเอง

            อีกหนึ่งเหตุผลสำคัญในการประกาศลดอัตราดอกเบี้ยในรอบนี้ คือ ปัจจัยเรื่องของเศรษฐกิจในข้อ 2) และ 3) โดยตัวเลขเศรษฐกิจที่ให้ความสำคัญ นั่นคือ ตัวเลขการจ้างงาน อาทิ อัตราการว่างงาน การเปิดรับตำแหน่งงานใหม่ การจ้างงานนอกภาคการเกษตร เป็นต้น โดยเงินเฟ้อนั้นมีความเกี่ยวเนื่องกับการจ้างงานผ่านค่าจ้างแรงงานที่ลูกจ้างได้รับ และสะท้อนไปถึงการเติบโตของเศรษฐกิจได้ โดยในช่วงที่เงินเฟ้ออยู่ในระดับสูงที่ผ่านมานั้น เกิดจากการขาดแคลนแรงงานในสหรัฐฯ หลังจากที่เปิดเมืองจาก COVID-19 ซึ่งมีไม่เพียงพอกับความต้องการจ้างงานของนายจ้าง ทำให้ค่าจ้างแรงงานพุ่งสูงขึ้น และนำไปสู่การเกิดเงินเฟ้อในลำดับถัดมา ซึ่งเป็นอีกผลหนึ่งที่ทำให้มีการขึ้นดอกเบี้ยเพื่อชะลอการจ้างงานในระบบ อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันดอกเบี้ยในระดับสูงและค้างนานก่อนหน้านี้ ส่งผลให้การจ้างงานมีทิศทางผ่อนคลายขึ้น โดยอัตราการว่างงานในสหรัฐเพิ่มสูงขึ้นเกินระดับ 4% ต่อเนื่องหลายเดือนที่ผ่านมา ประกอบกับการจ้างงานรายเดือนเริ่มกลับเข้าสู่ค่าเฉลี่ยในอดีตอย่างเป็นลำดับ จึงเป็นอีกเหตุผลหนึ่งในการลดดอกเบี้ยล่าสุด ในส่วนของประเด็นด้านเสถียรภาพการเงินของประเทศในข้อ 3) ปัจจัยสำคัญอันหนึ่งที่สามารถใช้ประเมินได้คือ ค่าเงินดอลลาร์ฯ และอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งการใช้ดอกเบี้ยในระดับสูงเกินกว่า 5% ที่ผ่านมาได้ส่งผลให้ค่าเงินดอลลาร์ฯ แข็งค่ารวดเร็วและสูงสุดในรอบ 20 ปีเมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินอื่นๆ ซึ่งส่งผลกระทบเชิงลบต่อผู้ประกอบการในสหรัฐฯ ที่ทำธุรกิจข้ามประเทศหรือมีรายได้นอกประเทศ ดังนั้น การรักษาสมดุลของอัตราแลกเปลี่ยนก็เป็นอีกหน้าที่ความสำคัญหนึ่งไม่แพ้กันของธนาคารกลาง และเป็นเหตุผลส่วนหนึ่งที่ทำให้การลดดอกเบี้ยเกิดขึ้น

            สำหรับผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยจากการเริ่มลดดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ นั้น คาดว่าน่าจะช่วยให้ทิศทางของดอกเบี้ยไทยเริ่มเป็นขาลงได้มากขึ้น หลังจากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ใช้ดอกเบี้ยนโยบายในระดับสูงและค้างนานเช่นเดียวกับในสหรัฐฯ มาก่อนหน้านี้ ซึ่งจะช่วยลดภาระดอกเบี้ยจ่ายในระบบเศรษฐกิจได้มากจากการเผชิญปัญหาหนี้ครัวเรือนไทยในขณะนี้ นอกจากนี้ ยังเพื่อเป็นการรักษาระดับอัตราแลกเปลี่ยนของเงินบาทให้มีความสมดุลในเวลาเดียวกัน และยังช่วยลดภาระในการแทรกแทรงค่าเงินของธปท. ในแง่ของกระแสเงินการลงทุนคาดว่าจะช่วยให้มีเม็ดเงินไหลออกจากสหรัฐฯ เข้ามาหาการลงุทนในประเทศอื่นมากขึ้นซึ่งรวมถึงไทยด้วยเช่นกัน

Scroll to Top
ไอคอน PDPA

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น และนำเสนอโฆษณาที่เกี่ยวข้องและตรงกับความสนใจของท่าน โดยท่านสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก นโยบายการใช้คุกกี้ กรุณากดยอมรับเพื่อยินยอมให้เราใช้คุกกี้

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่จำเป็นคือสิ่งที่สำคัญสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ ทำให้คุณสามารถใช้งานและเรียกดูเว็บไซต์ได้ตามปกติ คุณไม่สามารถปิดการใช้งานคุกกี้เหล่านี้ในระบบของเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้ที่จำเป็น

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึกการตั้งค่า