ในช่วงที่ผ่านมา หลายคนน่าจะเคยได้ยินมาบ้างแล้วว่า “ธุรกิจเทคโนโลยีการแพทย์” ให้ผลตอบแทนที่น่าสนใจ แต่ก็ดูเหมือนประเด็นนี้ จะถูกพูดถึงมาระยะหนึ่งแล้ว ดังนั้น นักลงทุนจึงอาจสงสัยว่า ถ้าสนใจลงทุนตอนนี้จะยังใช่ “จังหวะ” ที่ดีหรือเปล่า ? ธุรกิจนี้ราคาปรับตัวขึ้นมาสูงแล้ว ยังลงทุนได้จริงหรือ? เรื่องนี้มีคำตอบค่ะ
ไม่ต้องอ่านไปถึงตอนจบ ขอเฉลยตอนนี้เลยว่า “ยังเป็นจังหวะที่ลงทุนได้” และ “ยังมีโอกาสในการสร้างผลตอบแทนที่ดีได้ในระยะยาวด้วย” ทำไมจึงเป็นอย่างนั้น ?
Digital Healthcare ยังเป็นจังหวะที่ลงทุนได้
“คุณณัฐกฤติ เหล่าทวีทรัพย์” Head of TISCO Wealth Advisory อธิบายว่า ในช่วงนี้ หากนักลงทุนต้องการจะลงทุนในธุรกิจเทคโนโลยีการแพทย์ หรือ Digital Healthcare ไม่ต้องกังวลเรื่องจังหวะการลงทุน หรือกลัวว่าจะช้าเกินไป เพราะยังมีโอกาสสร้างผลตอบแทนที่ดีในระยะยาวได้อย่างแน่นอน
นั่นก็เป็นเพราะ ธุรกิจ “Digital Healthcare” มีทั้งสินค้าและบริการ ด้านการดูแล รักษาสุขภาพ ที่กำลังอยู่ในความต้องการของคนทั้งโลกอย่างมาก ได้แก่
- Research & Development – เช่น Life science tools and services, Automated laboratory tools
- Treatments – เช่น Biotech platforms, Surgical robotics, Personalized medicine
- Efficiency – Electronic Health Records, Consumer health monitors, Telemedicine
ซึ่งธุรกิจเหล่านี้ ต้องถือว่าเป็นดาวรุ่งที่มีอัตราการเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยถ้าดูในปี 2019 จะพบได้ว่า กลุ่มธุรกิจ Digital Healthcare มีขนาดของอุตสาหกรรมเพียง 1.06 แสนล้านเหรียญ แต่ถ้ามองไปถึงปี 2026 หรืออีกประมาณ 5-6 ปีข้างหน้า อุตสาหกรรมนี้จะขยายตัวไปถึงระดับ 6.39 แสนล้านเหรียญ หรือเฉลี่ยโตปีละกว่า 28%
นอกจากอุปกรณ์ที่กล่าวมา บริษัทในกลุ่มธุรกิจ Digital Healthcare ยังมีอุปกรณ์ที่น่าสนใจอื่นๆ อีก ยกตัวอย่างเช่น เครื่องวัดน้ำตาลในเลือดแบบพกพา โดยที่ไม่ต้องเจาะเลือด และสามารถรายงานผลมาที่แอปพลิเคชัน หรือ อุปกรณ์ของเราได้ ซึ่งนี่คือความก้าวหน้าที่น่าสนใจของ Digital Healthcare ในเวลานี้
Biotechnology ผู้สร้างยา-นวัตกรรมการรักษาที่โลกต้องการ
ธุรกิจ “Biotechnology” หรือ เทคโนโลยีชีวภาพ เป็นอีกหนึ่งดาวรุ่งในกลุ่ม Digital Healthcare ที่ TISCO Wealth Advisory ได้แนะนำตั้งแต่ช่วงต้นปี 2563 ที่ผ่านมา จนถึงตอนนี้ “คุณวรสินี เศรษฐบุตร” Head Of Wealth Product Development เล่าว่า บริษัทในกลุ่มนี้ยังคงให้ผลตอบแทนที่น่าสนใจ ยกตัวอย่างเช่น บริษัท Regeneron ผู้ผลิตยาที่ขายได้ทั่วโลก อาทิ
- Eylea – รักษาจอประสาทตาเสื่อม, รักษาเบาหวานที่จอตา
- Dupixent – รักษาผื่นผิวหนังอักเสบ
- Libtayo – รักษามะเร็ง
- ยาอื่นๆอีก 22 ชนิด ที่อยู่ในระหว่างการพัฒนา
ล่าสุดบริษัทนี้ ยังมีการคิดค้นยาเพื่อรักษาCOVID-19 โดยประกาศว่ายาตัวนี้จะเอามาทดลองได้ในเดือนก.ย. ส่งผลให้ตลาดตอบรับในเชิงบวกกับข่าวที่ออกมาทันที (ที่มา : https://www.biopharma-reporter.com/Article/2020/08/11/Regeneron-targets-September-data-drop-from-COVID-19-antibody-trial)
นอกจากนี้หากมองในเชิงภาพรวมธุรกิจ “Biotechnology” ในระยะข้างหน้า ประเมินว่า ความต้องการใช้ “ยา” ที่ค้นคว้าและผลิตโดยธุรกิจในกลุ่ม “Biotechnology” ยังคงมีอยู่อย่างมาก
เห็นได้จาก 10 อันดับแรกของยาที่คาดว่าจะมีการขายมากที่สุดในโลก ยังคงเป็นยาจากบริษัทที่อยู่ในกลุ่ม Biotechnology โดยแบ่งเป็นยารักษาที่อยู่ในกลุ่มโรคมะเร็ง 6 ชนิดเป็น ส่วนที่เหลือเป็นยารักษาโรค HIV และโรคหลอดเลือดต่างๆ ดังนั้น TISCO Wealth Advisory จึงมองว่าอนาคตของ Biotechnologyยังคงน่าสนใจอยู่ และแนะนำให้ลงทุน ในธุรกิจนี้
ถึงตอนนี้ คุณน่าจะเริ่มมองเห็นภาพชัดเจนขึ้นแล้วว่า ทำไม เราจึงยังแนะนำให้ลงทุนในธุรกิจเทคโนโลยีการแพทย์…