TH EN

ข่าวดี…คนไทยใกล้อายุยืน 100 ปี ข่าวร้าย…หลังเกษียณอาจมีเงินไม่พอใช้

โพสต์เมื่อ 18 ตุลาคม 2564 | บทความโดย : คุณณัฐกฤติ เหล่าทวีทรัพย์ ผู้อำนวยการอาวุโสที่ปรึกษาการลงทุนทิสโก้เวลธ์ ธนาคารทิสโก้ จำกัด (มหาชน)
และคุณโสฬส ศิวะไพบูลย์ รองผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาธุรกิจประกันภัย - ธนาคารทิสโก้

นวัตกรรมทางการแพทย์ กำลังจะทำให้ “คนไทย” อายุยืนขึ้นเกือบถึง 100 ปี ซึ่งแม้จะเป็นข่าวดี แต่ขณะเดียวกัน นี่เป็นประเด็นที่น่าตกใจอย่างมาก ...เพราะหากต้องใช้ชีวิตหลังเกษียณยาวนานขึ้นขนาดนี้ ก็หมายถึงต้องใช้เงินจำนวนมากเช่นกัน ...แล้วจะทำอย่างไรดี  ?!? 

        นวัตกรรมการแพทย์ที่ก้าวล้ำ ได้ทำให้ประชากรโลก รวมถึงประเทศไทยเดินหน้าเข้าสู่สังคมสูงวัย (Aging Society) รวดเร็วขึ้น  ยกตัวอย่างเช่น เทคโนโลยีการแพทย์ด้านการบำบัดด้วยยีน เทคโนโลยีการฟื้นฟูเซลล์ การพัฒนาอวัยวะเทียมและอุปกรณ์ช่วยเหลือ ฯลฯ ซึ่งล้วนแล้วแต่ช่วยยืดอายุประชากรให้มีชีวิตยาวนานมากขึ้นกว่าในอดีต

        โดยสำหรับคนไทยนั้น ปัจจุบันมีอายุขัยเฉลี่ยอยู่ที่ 77 ปี แต่ด้วยนวัตกรรมการแพทย์ที่ก้าวหน้าตามที่ได้เล่ามานั้น จึงส่งผลให้อายุขัยของประชากรไทยเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 4.4 เดือนต่อปี ดังนั้นด้วยทิศทางการมีชีวิตที่ยืนยาวนี้เอง สำนักงานสถิติแห่งชาติ จึงได้คาดการณ์ไว้ว่า ในปี 2568 คนไทยที่อายุยืนมากกว่า 60 ปีขึ้นไป จะมีสัดส่วนสูงถึง 20% ของประชากรประเทศ1

        และยังนำไปสู่ปรากฏการณ์สำคัญด้านอายุของกลุ่มคนซึ่งเกิดตั้งแต่ปี 2559 เป็นต้นไป หรือที่รู้จักกันใน Gen Alpha ซึ่งมีการคาดการณ์ว่า มีแนวโน้มที่จะอยู่ได้นาน 100 ปีเลยทีเดียว2

อายุยืน...แต่เงินอาจไม่พอใช้ ?!?3 

        แม้คนไทยจะมีอายุที่ยืนยาวขึ้น แต่ชีวิตหลังเกษียณของคนส่วนหนึ่งก็อาจไม่สะดวกสบายนัก เห็นได้จากข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ในปี 2564 ที่ระบุว่า โครงสร้างของผู้สูงอายุประมาณ 96% ของประเทศไทย อาศัยอยู่บ้านหลังเดิมอย่างยากลำบาก และมีเพียงสวัสดิการแห่งรัฐฯ เท่านั้นที่มาหล่อเลี้ยงชีวิต

        และหากเจาะลึกผลสำรวจที่จัดทำขึ้นเมื่อปี 2560 ก็จะพบว่าคนไทยกว่า 19% มีเงินไม่เพียงพอสำหรับการเกษียณอีกด้วย!!

        ข้อมูลเหล่านี้ ชี้ให้เห็นว่า หลังเกษียณที่มีอายุยืนยาวขึ้น ก็อาจไม่ใช่ปลายทางที่มีความสุขนัก หากมีเงินไม่เพียงพอต่อการใช้จ่าย

ประกันบำนาญ Living Benefit สูง ... ช่วยให้มีเงินใช้ในวัยเกษียณดีขึ้น ? 

        คุณณัฐกฤติ เหล่าทวีทรัพย์ ผู้อำนวยการอาวุโสที่ปรึกษาการลงทุนทิสโก้เวลธ์ ธนาคารทิสโก้ จำกัด (มหาชน) แนะนำให้เลือก ประกันบำนาญ เพื่อใช้เป็นหนึ่งในแนวทางที่ช่วยให้ชีวิตหลังเกษียณมีรายได้สม่ำเสมอยิ่งขึ้น

        พร้อมทั้งย้ำว่า ควรเลือกประกันบำนาญที่เน้นเรื่องของผลประโยชน์ขณะดำรงชีวิต (Living Benefit) สูง ซึ่งผู้เอาประกันฯ จะได้รับผลประโยชน์กรณีที่มีอายุยืนยาว โดยจะช่วยให้ได้รับเงินคืนอย่างสม่ำเสมอตลอดอายุขัยหรือจนครบสัญญาฯ ทำให้สามารถใช้ชีวิตได้ตามไลฟ์สไตล์ที่ตั้งใจ 

        “Living Benefit ที่สูงจะเป็นประโยชน์ต่อการใช้ชีวิตในวัยเกษียณอย่างมาก ซึ่งเวลาเลือกประกันบำนาญ ก็อยากให้เน้นตรงนี้ และแยกการพิจารณาออกจากผลประโยชน์หลังจากเสียชีวิต (Death Benefit) ซึ่งก็คือ ผลประโยชน์ที่ผู้เอาประกันจะได้รับกรณีเสียชีวิตก่อนอายุที่ระบุในสัญญาฯ โดยจะถูกส่งมอบให้ผู้รับผลประโยชน์ตามที่ระบุในสัญญาฯ” 

        นอกจากนี้ ยังได้แนะนำเทคนิคการเลือกประกันบำนาญ ดังนี้ 1.อายุการจ่ายเงินบำนาญ ยิ่งนาน ยิ่งมีโอกาสได้ประโยชน์คุ้มค่า 2.เปอร์เซ็นต์การจ่ายเงินบำนาญ ยิ่งสูงยิ่งดี 3.ความมั่นคงด้านฐานะทางการเงินของบริษัทประกัน เพราะประกันบำนาญเป็นแบบประกันที่มีระยะเวลายาวนาน ก็ต้องดูความมั่นคงของบริษัทประกันด้วย 

        เพราะประกันบำนาญ ไม่ใช่แค่ “มี” ก็เพียงพอกับการเกษียณแล้ว แต่ต้องให้ความสำคัญกับรายละเอียดในเรื่อง Living Benefit ด้วย จึงจะช่วยให้สามารถใช้ชีวิตหลังเกษียณดีไม่แพ้ตอนทำงาน

ทิสโก้เลือก My Wish Retirement 

        สำหรับประกันบำนาญ ที่มีความน่าสนใจในเรื่องของการให้ผลประโยชน์ Living Benefit นั้น คุณโสฬส ศิวะไพบูลย์ รองผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาธุรกิจประกันภัย - ธนาคารทิสโก้ ได้คัดเลือกประกันบำนาญ My Wish Retirement รับประกันโดยบริษัทกรุงเทพประกันชีวิต จากจุดเด่น 4 เรื่องหลัก คือ   

        จุดเด่นข้อที่ 1 : รับเงินบำนาญที่มั่นคงไปจนถึงอายุ 99 ปี ซึ่งตอบโจทย์ Megatrend การมีชีวิตยืนยาวของคนไทย

        จุดเด่นข้อที่ 2 : รับผลประโยชน์เงินบำนาญสูงถึง 24% ของทุนประกันต่อปี สูงเป็นอันดับต้นๆ เมื่อเทียบกับประกันบำนาญที่มีขายอยู่ตอนนี้ และยังสามารถเลือกรับผลประโยชน์เป็นรายเดือนได้อีกด้วย

        จุดเด่นข้อที่ 3 : มีความยืดหยุ่น สามารถเลือกวางแผนชำระค่าเบี้ยได้ โดยสามารถเลือกระยะ เวลาชำระค่าเบี้ยได้ตั้งแต่ 5 ปี 10 ปี หรือทุกปีจนถึงอายุ 60 ปี

        จุดเด่นข้อที่ 4 : สมัครง่าย ไม่ต้องตอบคำถามสุขภาพ ช่วยให้หมดกังวลเรื่องการรับประกัน สามารถสมัครได้ตั้งแต่อายุ 20 ปี ไปจนถึงอายุ 55 ปี

        จุดเด่นข้อที่ 5 : สิทธิพิเศษ เฉพาะลูกค้าที่เลือกซื้อ ผ่านธนาคารทิสโก้ มอบความคุ้มครองกรณีเสียชีวิตจากอุบัติเหตุเพิ่มเติมอีก 1 แสนบาท

 

        ทั้งนี้ในกรณีเสียชีวิตก่อนช่วงรับเงินบำนาญ ทายาทจะได้รับความคุ้มครองชีวิต 105% ของเบี้ยที่จ่ายมาแล้ว หรือมูลค่าเวนคืนกรมธรรม์ อย่างใดอย่างนึงที่สูงกว่า

        ส่วนกรณีเสียชีวิต ในช่วงรับเงินบำนาญ ทายาทจะได้รับความคุ้มครองชีวิตตามจำนวนเบี้ยประกันภัยที่จ่ายไปทั้งหมด หัก ด้วยผลประโยชน์ที่ได้รับไปแล้ว

        ดังนั้น ประกันบำนาญ My Wish Retirement จึงตอบโจทย์ทั้งในเรื่องของผลประโยชน์ที่สูง ขณะที่ผู้เอาประกันมีชีวิต และถึงแม้จะเสียชีวิต ก็ยังมีผลประโยชน์ให้ไม่น้อยกว่าค่าเบี้ยที่ชำระอีกด้วย

 

    

        หากคุณสนใจประกันบำนาญ My Wish Retirement ที่เราแนะนำ สามารถกรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับได้ในกล่องด้านล่าง

  • ผู้ซื้อควรทำความเข้าใจรายละเอียดความคุ้มครองและเงื่อนไข ก่อนตัดสินใจทำประกันทุกครั้ง

  • นายหน้าประกันภัย : ธนาคารทิสโก้ จำกัด (มหาชน)

  • รับประกันโดย : บริษัท กรุงเทพประกันชีวิต จํากัด (มหาชน)

  • ข้อยกเว้นสำคัญ

        บริษัทผู้รับประกันจะไม่คุ้มครองกรณีผู้เอาประกันไม่เปิดเผยข้อความจริง หรือแถลงข้อความเท็จ บริษัทผู้รับประกันจะบอกล้างสัญญาภายใน 2 ปี นับแต่วันเริ่มมีผลคุ้มครองตามกรมธรรม์ประกันภัย หรือวันที่บริษัทอนุมัติให้เพิ่มจำนวนเงินเอาประกันภัยในเฉพาะส่วนที่เพิ่ม เว้นแต่ผู้เอาประกันภัยมิได้มีส่วนได้เสียในเหตุที่เอาประกันภัยนั้น หรือการแถลงอายุคลาดเคลื่อนจนอายุจริงอยู่นอกจำกัดอัตราเบี้ยประกันภัยตามทางค้าปกติ และผู้เอาประกันฆ่าตัวตายภายใน 1 ปีนับแต่วันเริ่มมีผลคุ้มครองตามกรมธรรม์ประกันภัย หรือวันที่บริษัทผู้รับประกันอนุมัติให้เพิ่มจำนวนเงินเอาประกันภัยในเฉพาะส่วนที่เพิ่ม หรือถูกผู้รับประโยชน์ฆ่าตาย

 

ข้อมูลอ้างอิง

1. สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ปี 2562, บริษัท กรุงเทพประกันชีวิต จำกัด (มหาชน), United Nations - World Population Prospects (Thailand Life Expectancy 1950-2021)

2. สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ปี 2562, บริษัท กรุงเทพประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)  

3. สำนักงานสถิติแห่งชาติ, มูลนิธิสถาบันพัฒนาและวิจัยผู้สูงอายุไทย ปี 2564 

© สงวนลิขสิทธิ์ 2561 ธนาคารทิสโก้ จำกัด มหาชน