TH EN

เล่นเกมยังไง ไม่ให้เกมเล่นเรา

โพสต์เมื่อ 15 มิถุนายน 2564

        ธุรกิจเกมใหญ่มาก และเติบโตสวนกระแสมาโดยตลอด ยิ่งในช่วงวิกฤตโควิด-19 ยิ่งเติบโตไปกันใหญ่ เพราะผู้คนต้องเว้นระยะห่างและกักตัวอยู่บ้าน อีกทั้งเกมในปัจจุบันก็ถูกพัฒนาให้สนุก เร้าใจ น่าติดตาม และเข้าถึงได้ง่ายทุกที่ทุกเวลา ไม่แปลกใจที่คนจะติดเกมกันงอมแงม วันนี้จะขอพาเพื่อนๆมาดูข้อดี-ข้อเสีย และวิธีการเล่นเกมยังไง ไมให้เกมเล่นเรากันค่ะ

 

ข้อดี :

เกมเป็นกิจกรรมเสริมความสนุกในช่วงเวลาว่างที่ได้รับความนิยมสูง เพราะหากเล่นอย่างพอดีก็ทำให้ผู้เล่นได้รับความเพลิดเพลิน สนุกสนาน ฝึกการวางแผน การตัดสินใจ และคลายเครียดได้ ระยะหลังยังสามารถนำมาต่อยอดเป็นอาชีพสร้างรายได้ได้อีก

หลายประเทศยกธุรกิจเกมเป็น “ฟันเฟือง” ที่มีศักยภาพในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัล ที่ไม่เพียงมิติของการสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจเท่านั้น แต่ยังก่อให้เกิด “อาชีพใหม่” ขึ้นมากมาย เช่น นักเล่นเกม นักกีฬา โค้ช นักพากย์เกม สตรีมเมอร์ ไปจนถึงอาชีพเบื้องหลังอย่าง ผู้พัฒนาแกม ผู้พัฒนาแพลตฟอร์มสตรีมมิ่ง ผู้จัดกิจกรรมและการแข่งขัน เป็นต้น

 

ข้อเสีย :

แน่นอนว่าการเล่นเกมนานๆ อาจส่งผลเสียต่อการดำเนินชีวิต ทำให้เสียสุขภาพ พักผ่อนไม่เพียงพอ ทานอาหารไม่ตรงเวลา เสียค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น ปวดหลัง ร่างกายอ่อนเพลีย เสียเวลาในการทำอย่างอื่น หรือให้เวลาและให้ความสำคัญกับสิ่งอื่นรอบตัวลดลง รายที่ไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ หรือที่เรียกว่าภาวะติดเกม อาจก่อให้เกิดปัญหาทางจิตใจและสังคม เช่น ไม่มีสมาธิ ไม่มีเหตุผล เก็บตัว เข้าสังคมไม่เป็น หรืออาจเกิดพฤติกรรมเลียนแบบความรุนแรง เป็นต้น

 

เล่นเกม ไม่ให้เกมเล่น :

1.กำหนดเวลาการเล่นให้เหมาะสม โดยในแต่ละครั้งไม่ควรเล่นนานจนเกินไป เช่น ไม่เกิน 1-2 ชั่วโมงต่อครั้งแล้วปิด เพื่อยืดเส้นยืดสาย หรือทำอย่างอื่น ไม่เกิดความเคยชินกับการเล่นเกมมาราธอน  

2.ควรให้ความสำคัญกับคนรอบข้างหรือสิ่งรอบตัวมากกว่าเกม

3.หางานอดิเรกทำ หรือหันไปสนใจสื่อบันเทิงอื่นๆ บ้าง เช่น อ่านการ์ตูน ปลูกต้นไม้ ฟังเพลง เล่นกีฬา ออกกำลังกาย เป็นต้น

 

อย่างไรก็ดีเพื่อนๆอย่าลืมจัดสรรเวลา มีสติและสมาธิทุกครั้งในการเล่น พร้อมพัฒนาตนเองในด้านอื่นๆด้วยนะคะ


ที่มา : TRUST Magazine by TISCO, กรมสุขภาพจิต, Sanook

© สงวนลิขสิทธิ์ 2561 ธนาคารทิสโก้ จำกัด มหาชน